|
|
การจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ |
โครงการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ในสถาบันราชภัฏ
(โครงการ พวส.) ได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขึ้น
โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณจากสำนักงบประมาณตั้งแต่ปีงบประมาณ
2535 ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะที่ 7 โดยระยะแรกได้ดำเนินการในวิทยาลัยครู
(ชื่อเดิมสถาบันราชภัฏ) จำนวน 13 แห่ง เป็นเงิน 1,500 ล้านบาท
ส่วนโครงการศูนย์วิทยาศาสตร์อีก 17 ศูนย์ที่ดำเนินการภายหลังได้รับเงินสนับสนุนโดยเงินกู้จากธนาคารโลกเป็นเงิน
81.9 ล้านเหรียญสหรัฐและเงินสมทบอีก 58.3 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยคาดหวังว่าการจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันราชภัฏแต่ละแห่งจะกระตุ้นให้อาจารย์ในสาขาวิทยาศาสตร์
สามารถทำการวิจัยเจาะลึกโดยใช้กลุ่มตัวอย่าง (samples) ในท้องถิ่น
ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดการค้นพบความรู้ใหม่ ๆ จากท้องถิ่นที่สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาของท้องถิ่นได้
ประชาชนได้ประโยชน์จากการจัดบริการทางวิชาการแก่ชุมชนของสถาบันราชภัฏ
ในรูปของการจัดฝึกอบรม ประชุมเชิงปฏิบัติการ สัมมนา และการนำผลการวิจัยไปใช้ในการแก้ปัญหาทางการเกษตร
อุตสาหกรรม เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
|
|
|
ศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น
(Center of Science and Technology for Research and Community
Development) |
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ได้จัดตั้งขึ้นตามโครงการดังกล่าว ในระยะแรก คือ ในช่วงปีการศึกษา
2535 – 2539 เพื่อจัดหา สนับสนุนด้านวัสดุ เครื่องมือวิทยาศาสตร์
ห้องค้นคว้า ทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสมและมีคุณภาพ โดยอยู่ภายใต้การดูแลของคณะวิชาวิทยาศาสตร์
โดยมีคณบดีคณะวิชาวิทยาศาสตร์ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการ โดยแบ่งงานของศูนย์ออกเป็น
4 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายนิทรรศการ ฝ่ายการศึกษา ฝ่ายบริหาร และฝ่ายวิจัย
|
|
ต่อมาในปี
พ.ศ. 2554 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารเป็นการแบบองค์กรที่เป็นหน่วยงานการบริหารหนึ่งแต่ยังอยู่ภายใต้การบริหารงานของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โดยมีสรรหา และแต่งตั้งจากมหาวิทยาลัยภายใต้การเห็นชอบของคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเป็นผู้ให้ความเห็นชอบ
โดยกำหนดโครงสร้างการบริหารประกอบด้วย ผู้อำนวยการศูนย์ รองผู้อำนวยการศูนย์
และฝ่ายต่าง ๆ อีก จำนวน 6 ฝ่ายประกอบด้วย ฝ่ายวิจัยและพัฒนา
ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ฝ่ายฝึกอบรม ฝ่ายประกันคุณภาพ ฝ่ายประกันคุณภาพ
|